วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประวัติการตั้งตี่จู้เอี๊ยะและความหมายของภาษาในตี่จู้เอี๊ยะ

ประวัติการตั้งตี่จู้เอี๊ยะและความหมายของภาษาในตี่จู้เอี๊ยะ
ระยะแรกๆ คนจีนโพ้นทะเลที่ทำมาหากินในเมืองไทย เริ่มต้นด้วยการใช้กระดาษสีแดง หมึกสีดำ เขียนอักษรจีนคำ ว่า "ตีจู่ซิ่งอุ่ย" แปลว่า ที่สิงสถิตของเทพเจ้า มุมซ้ายบน เขียนคำว่า ฮวง มาจาก ฮวงนั้ง หมายถึงคนไทย มุมขวาบน เขียนคำว่า ตึ้ง มาจากตึ้งนั้ง หมายถึงคนจีน ด้านซ้ายต้องใหญ่กว่าด้านขวา

ต่อมาใช้คำว่า ไทแทนฮวง ตามเสียงไทย และคำว่า ตงแทนตึ้ง มาจากคำว่า ตงกก ประเทศจีน ด้านล่างของตัวหนังสือทั้งสองตัว เป็นกลอนคู่เขียนคำมงคล
กระดาษที่เขียนอักษรแล้วปิดไว้นั้น ถึงวันตรุษจีน ก็ต้องเปลี่ยนใหม่
หลังยุคใช้กระดาษแดงติดตีจู่เอี๊ย พัฒนามาเป็นกระจกพิมพ์สี แล้วก็กลายเป็นศาลเจ้าสีแดงหลังเล็กหรือใหญ่ตามกำลังของ
เจ้าของในปัจจุบัน

ความหมายของภาษาในศาลเจ้าตี่จู้เอี๊ยะ
地 "ตี่" แปลว่าดิน  主 "จู้" แปลว่าเจ้า
ตี่จู้ หมายถึง ( ธาตุดิน ) แปลว่าดิน
"เอี้ยะ" แปลว่า เทพเจ้า หรือ คนที่มีอำนาจบารมี

ป้ายด้านบนหลังคาหน้าศาลมี๒แบบป้ายดังนี้

"กิม เง็ก ป๋อ ตึ้ง"หรือ"กิม เง็ก มั้ว ตึ๊ง"
แปลว่า เงินทองไหลมาเต็มฟ้า
นัยหมายถึงสถานที่ที่เป็นมงคลเพื่อให้เจ้าของบ้าน
ร่ำรวยเงินทองและรุ่งเรืองด้านการงาน

"จูป๋อตึ๊ง"
จู แปลว่า รวบรวม 
ป๋อ แปลว่า เงินทอง
ตึ๊ง แปลว่า สถานที่หรือศาลหรือบ้าน

จูป๋อตึ๊ง จึงหมายถึง สถานที่ที่มีเงินทองมากมายหรือรวบรวมมากมาย นัยหมายถึงสถานที่ที่เป็นมงคลเพื่อให้เจ้าของบ้าน
ร่ำรวยเงินทองและรุ่งเรืองด้านการงานเช่นกัน

ตัวอักษรเดี่ยว ๒ ตัวระหว่าง ๓ แถวอักษร อ่านว่า "ตง ไท"
ไทแทนฮวง ตามเสียงไทย และคำว่า ตงแทนตึ้ง มาจากคำว่า ตงกก ประเทศจีน หมายถึงคนจีนที่มาปักหลักในประเทศไทย

อักษรภาษาจีนแถวกลางตัวใหญ่เด่นอ่านจากบนลงล่าง
อ่านว่า  "ตี่ จู้ ซิ้ง อุ่ย" 
ซิ้ง แปลว่า เทพเจ้า
อุ่ย แปลว่า ที่สถิตย์ของเจ้า
ความหมายโดยรวม หมายถึง "ที่สถิตย์ของเทพเจ้าหรือที่สถิตย์ของเจ้าที่"

ส่วนอักษรที่เรียงทั้งสองข้างเขียนคำอวยพร
ด้านในซ้ายอ่านจากบนลงล่าง "ซี่ ฮึง กิม งิ้ง จิง"
และด้านขวาอ่านจากบนลงล่าง "โหงว โหล่ว ไช้ ป๋อ ไล้"

ความหมายของ "ซี้ ฮึง กิม งิ้ง จิง"
ซี้ฮึง แปลว่า สี่ทิศ
ซี้ แปลว่า สี่
ฮึง แปลว่า ทิศ
กิม แปลว่า ทอง
งิ้ง แปลว่า เงิน
จิง แปลว่า มา
"ซี่ฮึงกิมงิ้งจิง" จึงแปลว่า ให้เงินทองไหลมาเทมาทั้งสี่ทิศ

ความหมายของ "โหงว โหล่ว ไช้ ป๋อ ไล้"
"โหงว" แปลว่า ห้า 5
"โหล่ว" แปลว่า ถนน
"ใช้" แปลว่า โชค
"ป๋อ" แปลว่า มา
"ไล้" แปลว่า มา

โหงว โหล่ว ไช้ ป๋อ ไล้ หมายถึงมีธาตุทั้งห้าครบถ้วนและมีโชคลาภเงินทองมาหา คำว่า โหงว โหล่ว แปลตรงตัวจะหมายถึง ถนนทั้งห้าสาย แต่เมื่อตีความแล้วกลับหมายถึงธาตุทั้งห้า คือ กิม (ธาตุทอง) ฮ่วย (ธาตุไฟ) บัก (ธาตุไม้) จุ้ย (ธาตุน้ำ) และโท้ว (ธาตุดิน) อันหมายถึงองค์ประกอบของชีวิตคนเราซึ่งจะต้องมีธาตุทั้งห้า
ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะมีชีวิตที่รุ่งเรือง

โหงวโหล่วใช้ป๋อไล้ แปลทั้งประโยคได้ความหมาย คือ "ครบถ้วนธาตุทั้งห้าและโชคเงินทองให้มาหา"

ส่วน ๒ เสาอักษรมงคลด้านหน้า ซ้ายและขวา
เขียนไว้เป็นความหมายของคำมงคลและคำอวยพร

เสาด้านซ้ายมือ อ่านว่า"กิมงิ้งช่วงตี่ที"
เสาด้านขวามือ อ่านว่า "ฮกลกจูเทียนไล้"

ได้ความหมายมงคลว่า
"เงินทองให้อยู่แต่ในที่"  และ "ลาภรวยไหลมาจากฟ้า"

ส่วนฐานของตี่จู้เอี๊ยะนั้นบางหลังใช้หลายแบบแบ่งออกได้ดังนี้

ฐานมังกร หมายถึง
มังกรหมายถึง ความน่าเกรงขามขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม้ให้กร่ำกรายและยังช่วยในเรื่องควบคุมคนที่อยู่ในบ้านหรือบริษัทฯห้างร้าน

ฐานโหงวก้วย หมายถึง
ผลไม้มงคล ๕ ชนิด หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์มีมากมีเหลือ กินเท่าไหร่ก็ไม่ขาดไม่หมด

ฐานอักษรมงคล๔ตัว  ( 招财进宝 เจียว ใช้ จิ๊ง ป้อ )
หมายถึง เงินทอง โชคลาภ ทรัพย์สมบัติ ไหลมาเทมา

เครดิตข้อมูล : ศาลเจ้าจีนไทยแลนด์ ออนไลน์
เครดิตภาพ : sanjeenthailandonline

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น