วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

วันเกิดตี่จู้เอี๊ยะ

#วันเกิดตี่จู้เอี้ยะ
เป็นวันหยีห่วยชิวหยี  วันที่ 2 เดือนที่ 2 ของชาวจีน
ปี2559 ตรงกับวันที่ 10 เดือนมีนาคม 2559
ควรไหว้ตั้งแต่เช้า - ก่อนเที่ยง

#ประวัติตี่จู้เอี้ย

      ตี่จู๋เอี้ย มีชื่อเรียกกันอีกว่า ตี่จู๋เอี่ยกง โท่วตี่เอี๊ย โท่วตี่กง ฮกเต็กซื้อ หรือ โฮ่วโท่วก็เรียก ฮกเต็กซื้อ โฮ่วโท่ว หรือ ฮกเต็กเจี้ยซิ้ง
      ตำนานเล่าขานกันว่า โหว โท่ว หรือโท่วตี่กง มีประวัติความเป็นมาจากมนุษย์ คือ ในสมัยราชวงศ์จิว (ก่อน พ.ศ.578- พ.ศ.288) มีชายคนหนึ่งชื่อว่า เตียเม่งเต็กเป็นคนรับใช้คหบดีคนหนึ่งในสมัยนั้น ท่านคหบดีได้เดินทางไปทำธุระที่แดนไกล ได้สั่งเตียเม่งเต็กช่วยนำพาบุตรีที่เยาว์วัยของท่านไปพบท่านขณะที่เตียเม่งเต็กเดินทางนำบุตรีของท่านไปส่งท่านคหบดีนั้น ในระหว่างทางเกิดพายุหิมะตกหนัก เตียเม่งเต็กเห็นบุตรีของท่านคหบดียังเด็ก ร่างกายไม่สามารถต่อต้านกับอากาศอันหนาวเยือก จึงได้ถอดเสื้อผ้าของตนออกมาคลุมสวมใส่ให้บุตรีของท่านคหบดี ตัวเตียเม่งเต็กทนความหนาวไม่ได้ก็หนาวตาย
      ขณะที่จะสิ้นใจนั้น ปรากฏว่าเบื้องบนนภามีหนังสือฉายออกมา 8ตัว “น่ำเทียงมึ้งไต่เซียงฮกเต็กซิ้ง” แปลว่า ฮกเต็กซิ้งเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งประตูสวรรค์ด้านทิศใต้ เมื่อท่านคหบดีกลับมาเห็นความชื่อสัตย์และความเสียสละของเตีงเม่งเต็ก จึงได้สร้างศาลเจ้าให้เตียเม่งเต็กเป็นการตอบแทนพระคุณ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าจิวบู่อ้วงทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพโหวโท่ว และเรียกกันภายหลังว่า โท่วตี่กง
      ตี่จู๋เอี๊ย หรือ โท่วตี่กง จัดเป็น เทพเจ้าที่มีตำแหน่งต่ำ แต่ เป็นเทพเจ้าที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด ต่อมามนุษย์ให้ความนับถือเปรียบเสมือนญาติผู้ใหญ่ โดยมากมักวาดหรือทำเป็นรูปลักษณ์ของชายมีอายุ หนวดเครา เผ้าผมขาวเป็นสีเงินยวง หน้าตาอิ่มเอิบท่าทางใจดี ตี่จู๋เอี๊ยที่มีพื้นที่รับผิดชอบใหญ่หน่อย บางครั้งก็เรียก แป๊ะกง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเจ้าที่ตามหมู่บ้าน

      เมื่อสมัยที่พระเจ้าจูง่วงเจียงฮ่องเต้ (พ.ศ.1911 - 1941) ขึ้งครองราชย์ ทรงถอดยศถอดศักดิ์ของโท่วตี่ซิ้งจำนวนมาก ดังนั้นโท่วตี่ซิ้งจึงเรียกชื่อตามสถานที่นั้นๆ ตามอย่างชื่อตำแหน่งขุนนางปกครองของสถานที่ต่างๆ กล่าวกันว่า มีอยู่ครั้งหนี่ง พระเจ้าเม่งไท้โจ้วทรงเสด็จประพาส ทรงพบขุนนางปกครองท้องถิ่นคนหนึ่ง นัดกันไปเสวยเหล้าที่โรงเตี๊ยมแห่งหนึ่ง เผอิญโรงเตี้ยมวันนั้นคนแน่นมากทรงทอดพระเนตรเห็นมีโต๊ะๆ หนึ่งวางที่บูชาของโท่วตี่ซิ้ง พระองค์ทรงหยิบป้ายบูชาของโท่วตี่ซิ้งวางลงพื้น และนำโต๊ะนั้นไปเสวยเหล้า ภายหลังจากที่พระเจ้าเม่งไท้โจ้วทรงเสด็จกลับไปแล้ว เจ้าของโรงเตี๊ยมได้นำป้ายบูชาของโท่วตี่ซิ้งนำมาตั้งไว้บนโต๊ะดังเก่า เทพโท่วตี่ซิ้งได้มาเข้าฝันกล่าวกับขุนนางนักปกครองท้องถิ่นว่า 'เจ้าเหนือหัวทรงมีรับสั่งให้ข้าไม่ให้นั่งบนที่สูง”
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนจึงนิยมตั้งโท่วตี่เอี้ยอยู่ติดกับพื้นดิน

การจัดของไหว้
1. กระถางธูป                                     
2.เทียน 1คู่                                       
3. ธูป 5ดอก
4.แจกันดอกไม้สด หรือพวงมาลัยสด
5. ผลไม้ 5อย่าง (ถ้าไม่สะดวกส้มอย่างเดียวก็ได้)
6. น้ำชา 5ถ้วย
7.หงิ่งเตี๋ย 12คู่
8.เทียงเถ้าจี้ 1ชุด
9. กิมหงิ่งเต้า 1คู่

#ถ้าจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ
มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ”
ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร
แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน

ของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็นซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนมกุยช่าย และขนมจันอับ

#ถ้าจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง
มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ”
ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย”
ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย”
หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้

#ของคาว 5 อย่าง หรือในภาษาจีนเรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบไปด้วย  หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกรแต่ด้วยความที่กุ้งมังกรนั้นมีราคาแพง
และหายาก สามารถใช้เป็ดหรือปลาหมึกแทนได้

     - หมู มีความหมายมงคล หมายถึงความกินดีอยู่ดี ความมั่งคั่ง

     - ไก่ มีความหมายมงคล หมายถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การรู้จักหน้าที่เหมือนไก่  ที่ขันตรงเวลาทุกวัน

     - ตับ มีความหมายมงคลจากการออกเสียงที่พ้องกันในภาษาจีนกับ คำว่า “กัว” ที่แปลว่าขุนนาง

     - ปลา มีความหมายมงคลจากการอ่านออกเสียงของคนจีนเแต้จิ๋วที่ เรียกปลาว่า “ฮื้อ” โดยมีวลีอันเป็นมงคลของจีนที่ว่า อู่-ฮื้อ-อู่-ชื้ง มีความหมายว่า ให้เหลือกินเหลือใช้

     - กุ้งมังกร มีความหมายมงคลเกิดจากลักษณะของกุ้งมังกร ที่ตัวใหญ่ มีกล้ามสื่อถึงการมีอำนาจวาสนา

#ผลไม้ 5 อย่าง หรือในภาษาจีนเรียกว่า “ โหงวก้วย ” ผลไม้คนจีนจะนิยมเลือกชนิดที่มีอะไรที่เป็นมงคลอยู่ในตัว นั่นมีด้วยกันหลายชนิด
ดังนั้นจึงแล้วแต่ว่าจะนำผลไม้ชนิดไหนมาไหว้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น
ส้ม สาลี่ แอปเปิ้ล กล้วย องุ่น

     - ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” มีความหมายอันเป็นมงคล หมายถึงโชคดี ให้ประสบแต่โชค สิ่งดีๆ เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

     - สาลี่ มีความหมายมงคล หมายถึง ให้รักษาคุณงามความดีเอาไว้อย่างมั่นคง และรักษาโชคลาภเงินทองไม่ให้เสื่อมถอยหายไปไหน  แต่สาลี่ไม่นิยมนำมาไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ

     - แอปเปิ้ล มีความหมายมงคล หมายถึงมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และหมายถึงสันติสุข สันติภาพ
     - องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” มีความหมายมงคล หมายถึงความเจริญงอกงาม และการมีอายุยืนนาน

     - กล้วย เรียกว่า "เก็งเจีย" มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล

เครดิตภาพ : ท่านลูกค้าผู้มีพระคุณเอื้อเฟื้อภาพบารมีอากง
และ sanjeenthailandonline

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น