วันสารทจีน พ.ศ.2560 ตรงกับ วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ.2560 วันจีน 15 (十五) เดือน 7 (七月大) ปีระกา (鸡)
ประเพณีสารทจีน
นอกจากจะเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัว
ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าและ มีความสุข
#ความหมายวันสารทจีน
ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 (ปฏิทินจีนโบราณ) ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญู
ต่อบรรพบุรุษโดยพิธีเซ่นไหว้และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิด
ให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
#วันสารทจีนของประเทศไทย
เพื่อเป็นการแก้อาถรรพ์ ชาวจีนจึงมีการเซ่นไหว้ด้วยของไหว้ สารทจีน หลากความหมาย ที่ปฏิบัติสืบกันมาเนิ่นนาน วันสารทจีน ถือเป็นเดือนสำคัญที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และยังเป็นเวลาที่ประตูนรกเปิดให้บรรดาภูตผีออกเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเทศกาลสารทจีน ตรงกับ วันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน แต่ทางจันทรคติไทยกลับเป็น
วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินจีนโบราณ เดือน 7
ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้าย จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ เมื่อประตูนรกเปิด เพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญใน วันสารทจีน ซึ่งตรงกับ วันที่ 15 เดือน 7 เพราะเป็นวันที่เช็งฮีไต๋ตี๋จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก คนจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง เรียกว่าไหว้ 8 เทศกาลโป๊ะโจ่ย การไหว้เจ้า สารทจีน หรือ วันสารทจีน ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรก ปิด-เปิด ให้วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน จึงได้ทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน
และผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญ ของบ้านที่จัดโต๊ะไหว้
#กิจกรรมที่ใช้จัดในวันสารทจีน
ชาวจีนได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอด ด้วยการเซ่นไหว้ และจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยก เพื่อให้บรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตนมารับอาหาร ส่วนในบ้านเป็นของญาติและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งหากไม่มีการไหว้วิญญาณเร่ร่อนด้วยแล้ว อาจทำให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับถูกแย่งอาหารก็เป็นได้
กิจกรรมวันสารทจีน
ชาวจีนเชื่อกันว่าวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน และในวันนี้ชาวจีนจะทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน
โดยทำกิจกรรมหลักๆร่วมกัน
#เผากระดาษเงินกระดาษทอง
ก่อนเผากระดาษ ต้องนำหินปูนมาขีดเป็นวงกลมซ้อนกัน 3-4 วงตรงลานบ้านที่จะใช้เผากระดาษ แล้วนำกระดาษเงินกระดาษทองวางไว้ให้อยู่ในวงกลมวงในสุดที่ขีดไว้ เป็นการเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปนั้น ด้วยความเชื่อว่าวงกลมที่วงไว้โดยรอบจะกันมิให้ผีไร้ญาติมาแย่งชิงเอากระดาษเงินกระดาษทองไปได้ หลังจากนั้นจึงเผากระดาษเงินกระดาษทองที่เตรียมไว้ ขณะที่เผาก็กล่าวเชิญบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปให้มารับเงินทองที่เผาไปให้ โดยต้องพูดแบบไม่ขาดปากว่า ไหล หลิ่ง เฉียน แปลว่ามารับเงินด้วย โดยเอ่ยชื่อผู้ตาย ให้มารับเงินด้วย
#เผากระดาษเงินให้กับผีไม่มีญาติ
หลังจากเผากระดาษเงินกระดาษทองที่อยู่ในเส้นวงกลมหมด ซึ่งเป็นการทำให้กับบรรพบุรุษแล้วบางบ้านอาจจะมีพิธีต่อคือ การเผากระดาษเงินให้กับผีไม่มีญาติ ด้วยการนำกระดาษเงินกระดาษทองอีกชุดหนึ่งมาวางไว้นอกเส้นวงกลม แล้วเผาเพื่อแผ่ส่วนบุญให้แก่ผีไร้ญาติ
คนจีนในบางถิ่นจะไปทำพิธีเซ่นไหว้ที่สุสานของบรรพบุรุษในตอนบ่าย ซึ่งกิจกรรมวันสารทจีนที่ทำในแต่ละถิ่นของจีน ไม่ได้เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ บางถิ่นก็ทำพิธีเซ่นไหว้ที่บ้าน แต่สิ่งที่ขาดมิได้ หรือที่ทำเหมือนกันทุกครัวเรือนก็คือ จะต้องจัดอาหารอย่างดีโต๊ะหนึ่งเซ่นไหว้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นการเลี้ยงส่งก่อนที่วิญญาณผู้ล่วงลับทั้งหลายจะกลับไปยัง
ภพของตน
#ข้อควรระวังเกี่ยวกับอัคคีภัยวันสารทจีน
เพราะเทศกาลสารทจีน นอกจากจะมีการไว้เจ้าแล้ว ยังมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองอีกด้วย รวมถึงการจุดประทัด ซึ่งแต่ละบ้านอาจจะทำพิธีไม่เหมือนกัน เพื่อเป็นการป้องกันและปลอดภัยไว้ก่อนในช่วงเทศกาลสารทจีน จากประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษ ให้ระวังเกิดอัคคีภัยและอุบัติเหตุจากประทัด ในวันสารทจีนจะมีการประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษ โดยการประกอบอาหาร จุดธูปเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทอง และจุดประทัด จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และอุบัติภัยจากประทัด
เพื่อความปลอดภัยไม่ให้เกิดอัคคีภัยในช่วงเทศกาลสารทจีน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ก๊าซหุงต้มและเชื้อเพลิงประเภทอื่นในการประกอบอาหาร และอย่าลืมปิดวาล์วถังก๊าซและดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังประกอบอาหารเรียบร้อยแล้ว
การประกอบพิธีกรรม จุดธูปเทียนในภาชนะทนไฟ ขณะที่จุดธูปเทียนควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่จุดธูปเทียนทิ้งไว้ และดับไฟให้สนิททุกครั้ง เผากระดาษเงินกระดาษทอง ในภาชนะทนไฟที่ปิดมิดชิด จะช่วยป้องกันไฟลุกลามติดวัสดุอื่น ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได
ระวังเรื่องไฟไหม้แล้ว ก็หันมาดูเรื่องการจุดประทัด ซึ่งต้องไม่จุดประทัดในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ โดยเฉพาะภายในบ้านเรือน หรือใกล้แนวสายไฟ รวมถึงวัสดุที่ติดไฟง่าย เพราะประกายไฟจะกระเด็นไปติดวัสดุดังกล่าว ซึ่งจะเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดเพลิงไหม้ รวมถึงออกห่างจากบริเวณที่จุดประทัดและ ไม่เข้าใกล้ประทัดที่จุดแล้ว เพื่อป้องกันสะเก็ดไฟกระเด็นเข้านัยน์ตาซึ่งอาจทำให้ตาบอด ไม่ให้เด็กนำประทัดไปจุดเล่น เพราะจะทำให้ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นเสียชีวิตได้
แนวทางการการส่งเสริมกิจกรรมวันสารทจีน
เพราะเทศกาล วันสารทจีน เป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว การไหว้ในเทศกาลสารทจีน ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง ที่มีการทำสิบต่อกันมาถึงลูกถึงหลาน ซึ่งพ่อแม่ก็จะคอยบอกและนำคนในครอบครัวปฏิบัติ เพื่อให้เป็นธรรมเนียมสืบต่อไป
#ชุดไหว้ในพิธีสารทจีน
ประเพณีสารทจีน เป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว และให้ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้า ซึ่งในการเตรียมของไหว้นั้นจะใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ
ตามความเชื่อแล้วการไหว้ในวันสารทจีน
จะประกอบไปด้วยชุดอาหาร 3 ชุด ดังนี้
1. ชุดสารทจีนสำหรับไหว้เจ้าที่ จะต้องทำการไหว้ตอนเช้า
เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล
ซึ่งชุดในการไว้เจ้าก็จะมีผลไม้น้ำชาหรือเหล้าจีนและกระดาษเงินกระดาษทอง โดยจะจัดชุดอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็มี ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือ
ขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องมีจุดสีแดงแต้มไว้ตรงกลาง
2. ชุดสารทจีนสำหรับไหว้บรรพบุรุษ จะมีความคล้ายกับชุดสารทจีนไหว้เจ้าที่ คืออาหารคาวหวานและผลไม้ ส่วนมากจะทำเมนูอาหารที่บรรพบุรุษชื่นชอบ แล้วแต่บุคคล
โดยตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ
ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง และกระดาษเงินกระดาษทอง ให้แก่บรรพบุรุษเพื่อเชื่อกันว่าให้บรรพบุรุษนำไปใช้ในภพภูมิ
ของตนเอง
3. ชุดสารทจีนสำหรับไหว้สัมภเวสี สัมภเวสี ในที่นี้หมายถึง ดวงวิญญาณเร่รอน ดวงวิญญาณไม่มีญาติ จะต้องไหว้นอกบ้าน ซึ่งของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษ
คือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่น้ำชาเหล้าและกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้ การจัดชุดสำหรับวิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติที่เรียกว่า สัมภเวสี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดี
ส่วนขนมที่ใช้ไหว้ 5 อย่าง
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า 'ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี' ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล เปี้ย คือขนมหนึ่งเปี้ย คล้ายขนมไข่ หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง และกี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
#อาหารไหว้วันสารทจีน
– ไก่ หมายถึง ความสง่างาม ยศ และความขยันขันแข็ง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องเป็นไก่เต็มตัว หมายถึง มีหัว ตัว ขา ปีก มีความหมายถึง ความสมบูรณ์
– เป็ด หมายถึง สิ่งบริสุทธิ์ ความสะอาด ความสามารถอันหลากหลาย
– ปลา หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ อุดมสมบูรณ์
– หมู หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมีใช้
– ปลาหมึก หมายถึง เหลือกิน เหลือใช้ (เหมือนปลา)
– บะหมี่ยาวหรือหมี่ซั่ว หรือ ฉางโซ่วเมี่ยน ตามชื่อหมายถึง อายุยืนยาว
– เม็ดบัว หมายถึง การมีบุตรชายจำนวนมาก
– ถั่วตัด หมายถึง แท่งเงิน
– สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย
– หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวยผาสุก
ขนมที่ใช้ไหว้
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี
ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ
ขนมไหว้วันสารทจีน
– ขนมเข่ง คือ ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์
– ขนมเทียน คือ เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดินดัดแปลงมาจากขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
– ขนมไข่ คือ ความเจริญเติบโต
– ขนมถ้วยฟู คือ ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
– ขนมสาลี่ คือ รุ่งเรือง เฟื่องฟู
– ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว คือ ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่าห่อโชค
– จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ปิ่นโต หมายถึงความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป
ผลไม้ไหว้วันสารทจีน
– กล้วย หมายถึง กวักโชคลาภเข้ามา และขอให้มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง
– แอปเปิ้ล หมายถึง ความสันติสุข สันติภาพ
– สาลี่ หมายถึง โชคลาภมาถึง (ควรระวังไม่นิยมไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ)
– ส้มสีทอง หมายถึง ความสวัสดีมหามงคล
– องุ่น หมายถึง ความเพิ่มพูน
#เทพแห่งโชคลาภ ไหว้เจ้าวันสารทจีน
ในช่วงหลายสิบปี เทพแห่งโชคลาภที่บันทึกไว้ในระบบความจำของตี๋หมวยใหญ่น้อย
ทั้งหลายคือ “ฮก-ลก-ซิ่ว” เทพยอดนิยมอมตะนิรันดร์กาล ที่ไม่ว่าจะเป็นจีนเชื้อสายใด เป็นคนรุ่นไหน ฮก-ลก-ซิ่ว คือเทพที่อยู่ในความศรัทธามายาวนาน ที่สามารถเข้าได้กับทุกงานมงคล ตั้งแต่งานขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน เปิดสำนักงาน วันเกิด ฯลฯ
หรือหากเป็นเมื่อประมาณ 5-6 ปีผ่านมา “ไฉ่ สิ่ง เอี๊ย” หรือเทพแห่งทรัพย์ เริ่มยึดครองพื้นที่ศรัทธาในใจผู้คนมากขึ้น เพราะไม่ว่าคนรวยคนจนไหว้พระไหว้เจ้าก็ไม่พ้นเรื่องของเงินทอง
ส่วนเทพแห่งโชคลาภของจีนมี 7 องค์ด้วยกัน คือ พระยูไล พระโพธิสัตว์กวนอิม พระสังกัจจายน์ พระจี้กง เทพแห่งเงินตราทั้ง 4 ในศาสนาพุทธ เซียนคู่ และเทพฮก
หลายองค์ที่กล่าวถึงนั้นเป็นเทพที่คุ้นเคยใกล้ชิดไม่เฉพาะแต่คนจีน หากรวมถึงคนไทยจำนวนไม่น้อยทีเดียว เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ที่เรามักเรียกกันว่าเจ้าแม่กวนอิม พระสังกัจจายน์ ที่นั่งยิ้มแฉ่งรับญาติโยม
พระโพธิสัตว์กวนอิม ว่ากันว่าถูกสร้างขึ้นมา หาได้มีตัวตนจริงไม่ แต่เมื่อสร้างแล้วมีผู้กราบไหว้บูชามากมาย จึงพยายามผูกเป็นเรื่องให้เข้ากับประวัติศาสตร์จีน โดยจัดเรื่องให้พระโพธิสัตว์เป็นพระราชธิดาของพระราชาองค์หนึ่ง…กล่าวไว้ว่าพระนางนั้นเดิมเป็นพระธิดาของ พระเจ้าเมี่ยว จวง หวาง ทรงพระนามว่า เมี่ยวซ่าน ทรงฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ไม่ยอมเข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสตามพระประสงค์ของพระบิดา
เทพไท้ไป๋ ซิง จวิน ทางศาสนาเต๋า ชี้แนะ จึงได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์…ด้วยศาสนาพุทธและศาสนาเต๋าล้วนเข้าไปสู่วิถีชีวิตของชาวจีนอย่างแยกกันไม่ออก พระโพธิสัตว์กวนอิมของศาสนาพุทธจึงกลายเป็นเทพของศาสนาเต๋าไปด้วย ไม่ว่าใครจะเป็นพุทธศาสนิกชนก็ได้ เป็นผู้ที่นับถือศาสนาเต๋าก็ดี ล้วนกราบไหว้พระโพธิสัตว์องค์นี้กันทั้งนั้น…
พระสังกัจจายน์ หรือพระยิ้ม หรือเรียกกันทั่วไปว่าพระถุงย่าม…ที่รู้จักกันของชาวจีนว่าคือ พระหมี เล่อ โฝว นั้นเป็นนามเรียกขานเดียวกับพระศรีอริยเมตไตรย แต่แท้จริงแล้วพระยิ้มอาจไม่ใช่พระศรีอริยเมตไตรยก็ได้ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระประหลาด…ที่มีรูปร่างอ้วนเตี้ย พุงยุ้ย มักใช้ไม้เท้าที่ทำจากไม้ไผ่เกี่ยวถุงผ้าแล้วแบกไว้บนบ่า มักปรากฏกายไปบิณฑบาตในตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่านด้วยใบหน้ายิ้มแย้มตลอดเวลา พูดจาผิดจากคนทั่วไป ค่ำที่ไหนนอนที่นั่น ที่ไหน ๆ ก็นอนได้หมด มักจะบอกเล่าและทำนายเรื่องในอนาคตที่จะเป็นอันตรายต่อผู้คน ราวกับเป็นผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน
ความจริงแล้วสิ่งที่ติดตัวของท่านก็มีเพียงถุงย่ามใบเดียว ท่านมักจะนำของบิณฑบาตมาได้เทรวมลงไปในถุงย่าม ผู้คนเข้ามามุงดู ท่านจะพูดกับคนเหล่านั้นด้วยคำพูดที่เปรียบเทียบให้คนรู้เห็นธรรมอันแท้จริง บางคนบอกว่าท่านเป็นเทพเจ้า บางคนก็ว่าท่านเป็นบ้า…
พระหมีเล่อ หรือพระศรีอริยเมตไตรย เป็นเสียงเรียกขานตามภาษาสันสกฤต Maitreya ความหมายก็คือผู้มีความเมตตา เป็นนามของพระโพธิสัตว์หมีเล่อของศาสนาพุทธมหายาน กล่าวกันว่า ท่านเป็นบุตรตระกูลพราหมณ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งหมู่บ้านเจี่ยพอหลีชุน แห่งหนานเทียนจู๋ ของอินเดียโบราณ
พระศรีอริยเมตไตรย ได้ตรัสรู้ก่อนพระศรีศากยมุนี จากนั้นก็ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ในแดนสุขาวดีพุทธเกษตรทางทิศตะวันตก…พระองค์ทรงดูแลความสุขของมวลมนุษยชาติสืบต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวกันว่าในยุคของพระองค์จะมีแต่สิ่งดี ๆ ความสวยงาม และความสุข
พระจี้กง หลายท่านรับรู้เรื่องราวของท่านในฐานะ “พระคนยาก” เพราะภาพลักษณ์ของพระที่แต่งตัวปอน ๆ ด้วยจีวรเก่าซอมซ่อ และมีขวดน้ำเต้าบรรจุเหล้าติดตัวอยู่เสมอ หากเบื้องลึกของพระจี้กงที่ได้กล่าวไว้คือ พระจี้กงเป็นชาวไถโจว ปัจจุบันคืออำเภอหลินไห่ ของมณฑลเจ้อเจียง นามเดิมของท่านคือหลี่ ซิน หย่วน ท่านออกบวชที่วัดหลิงอวิ่นซื่อ ที่เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง…เนื่องจากพระจี้กงไม่นิยมปฏิบัติตามกฎของสงฆ์ ชอบกินเนื้อสัตว์และดื่มเหล้า อีกทั้งมีท่าทางเหมือนคนบ้า ผู้คนจึงเรียกท่านว่าพระบ้า
พระจี้กงมีจิตใจเมตตา ชอบช่วยเหลือคนที่ไม่ได้รับความยุติธรรม อีกทั้งดูถูกพวกข้าราชการที่ชอบกินสินบนและกดขี่ข่มเหงประชาชน การปฏิบัติตัวของพระจี้กงเป็นที่นิยมนับถือของประชาชนทั้งหลาย จนเรียกกันว่า ท่านคือพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิดในยุคปัจจุบัน…”
วันสารทจีน สะท้อนให้คนเราเห็นว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ควรกระทำตัวให้เป็นบรรพบุรุษที่ดี ให้ลูกหลานเคารพ และกราบไหว้บูชาแม้ยามจากไป
เครดิตข้อมูลและภาพ :wikipedia, tlcthai.com
เรียบเรียง : ศาลเจ้าจีนไทยแลนด์ออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น