วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ปึงเถ่ากง? เทพเจ้ายอดนิยม เป็นใคร มาจากไหน

ปึงเถ่ากง? เทพเจ้ายอดนิยม เป็นใคร มาจากไหนและทำไม

เทพเจ้าที่คุ้นเคยที่สุด ไหว้บ่อยที่สุดองค์หนึ่งของลูกหลานจีนโพ้นทะเลคือ “ปึงเถ่ากง” นอกจากเราไหว้ปึงเถ่ากงในเทศกาลสำคัญอย่างตรุษจีนสารทจีน,เทศกาลขนมจ้างเทศกาลขนมบัวลอย ฯลฯ แล้วยังมีงานของท่านโดยเฉพาะ เช่น วันเกิดปึงเถ่ากง และงานขอบคุณปึงเถ่ากงของแต่ละชุมชนที่มีศาลปึงเถ่ากงนอกจากนี้ในหลายบ้านยังตั้งหิ้งบูชา “ปึง เถ่า กงโดยใช้กระดาษสีแดงเขียนหนังสือจีน 1 ตัว คือซิ้งเทพเจ้า” แทนรูปเคารพ ทุกเช้าก็จุดธูป ไหว้พร้อมน้ำชา พอถึงวัน 1 ค่ำ 15 ค่ำ ของจีนก็มีผลไม้ หรือขนม และกระดาษเงินกระดาษทองมาไหว้ปึงเถ่ากง” เป็นภาษาแต้จิ๋ว หมายถึง เทพเจ้าของที่ดิน แต่คนแต้จิ๋วเรียก “ปึงเถ่ากง” ต่างกันไปตามสำเนียงถิ่นกำเนิด เช่น คนอำเภอเตี่ยอังเท่งไฮ้ และเหยี่ยวเพ้ง เรียกว่า “ปุงเถ่ากง” คนอำเภอ เตี่ยเอี๊ยกิ๊กเอี๊ยและโผวเล้ง เรียกว่า “ปึงเถ่ากงดัง นั้น ถ้า เห็น ศาลเจ้าขึ้นป้ายว่า ปึง เถ่า กง หรือ ปุง เถ่า กง ก็พอ สันนิษ ฐานได้ว่า ผู้คนชุม ชนรอบๆ ศาลเจ้านั้นดั้งเดิมเป็นคนแต้จิ๋วจากอำเภอใด เช่น ศาลตั่วปุงเถ่ากง ด้านหน้าโรงเรียนเผยอิงถนนทรงวาด ชุมชนเดิมส่วนใหญ่เป็นคนอำเภอเตี่ยอังเท่งไฮ้แต่คนทั่วไป รวมทั้งป้ายชื่อศาลภาษาไทยกลับเขียนว่า “เล่าปูนเถ่ากง ปุนเถ่ากง (ศาลเก่า ซึ่งเป็นเสียงกลายไป ผู้ใหญ่หลายท่านเคยชี้ให้ดูว่า อ่านว่าตั่วปุงเถ่ากง ปุงเถ่ากง (ศาลใหญ่” (เรื่องนี้ขออนุญาตไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้)ส่วนชื่ออื่นที่เคยเห็น เช่น ปึนเถ่ากงปูนเถ่ากง,ปุนเถ้ากง ฯลฯ นั้นเป็นการออกเสียงที่กลายไปจากชื่อในภาษาแต้จิ๋ว

เทพเจ้าส่วนภูมิภาค
                นักวิชาการหลายท่านอธิบายไว้ว่า ปึงเถ่ากง เป็นเทพเจ้าของจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชุมชนคนจีนโพ้นทะเลจะมีศาลปึงเถ่ากงให้เห็นอยู่ทั่วไป บางชุมชนอาจมีมากกว่า ๑ แห่ง แต่ในเมืองจีนไม่มีปึงเถ่ากง เมื่อประเพณี วิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนจีนโพ้นทะเลก็จดจำมาจากสิ่งที่ปู่ย่าตายายที่เมืองจีนเคยทำแทบทั้งสิ้น ถ้าเมืองจีนไม่มีปึงเถ่ากงแล้วเราเอาแบบอย่างมาจากสิ่งใด ลิ้มเฮียช่วยอธิบายถึงที่มาที่ไปของปึงเถ่ากงนั้นมีอยู่ 2-3 ประเด็นให้ฟังว่า
                 1. ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกับแป๊ะกง (บ้างเรียก โทวตี่กงซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ดิน ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเมืองจีนตามชุมชนต่างๆ จะมีศาลแป๊ะกงให้เห็นเสมอแป๊ะกงมีบทบาทสำคัญมากในสังคมสมัยก่อน งิ้วหลายเรื่องถ่ายถอดให้เห็นว่ากษัตริย์ขุนนางคนเดินทางใครตกระกำลำบากก็ไปอาศัยศาลแป๊ะกง เป็นที่พักแรมที่หลบภัย หรือร้องทุกข์กับเทพเจ้า แป๊ะกง ซึ่งเป็นเทพระดับล่างก็มีหน้าที่ส่งรายงานขึ้นไปเบื้องบนลิ้มเฮียยังเล่าถึงนิทานพื้นบ้านแต้จิ๋วเรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงแป๊ะกงว่า สมัยราชวงศ์หมิง เอ็งบ่วงตั๊ก-เสนาบดีกลาโหมชาวแต้จิ๋วยกทัพไปรบ ระหว่างทางแวะพักแรมที่ศาลแป๊ะกง แต่ปรากฏว่าทหารในกองทัพถูกเสือฆ่าตายเอ็งบ่วงตั๊กเดินไปตำหนิแป๊ะกงในศาลว่าเป็นเทพเจ้าที่ไม่ดูแลพื้นที่ให้เรียบร้อยปล่อยให้เสือมาทำร้ายทหารหลวงได้อย่างไร ทั้งสั่งให้แป๊ะกงไปเรียกเสือตัวที่ฆ่าคนตายมารับผิด เมื่อเสือมาพบเอ็งบ่วงตั๊กสั่งให้เสือตัวนั้นถือธงประจำกองทัพแทนทหารที่ตายเป็นการทำคุณไถ่โทษ นิทานเรื่องนี้ทำให้รู้ว่าแป๊ะกง ไม่ได้ดูแลแต่คน หากรวมถึงสรรพสัตว์และสภาพดินฟ้าอากาศของชุมชนอีกด้วยแต่เมื่อคนจีนออกมาทำกินในโพ้นทะเล อาชีพเกษตรที่เคยทำส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นค้าขาย ขณะที่ชื่อของปึงเถ่ากง” ในภาษาแต้จิ๋วนั้นมีความหมายที่ดี คำว่า “ปึง” มาจาก “ปึงจี๊” แปลว่า เงินทุน คำว่า “เถ่า” มาจากเถ่าใช่” แปลว่า นิมิตหมายที่ดี ส่วนคำว่า “กง” ใช้เรียกผู้อาวุโส ผู้ชาย หรือหมายถึง ปู่ตา ปึงเถ่ากงจึงเป็นเทพเจ้าในใจคนที่ทำการค้า ซึ่งลักษณะทั่วไปของคนค้าขายจะอาศัยอยู่ในเมือง หรือ ชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบกับการขยายตัวของสังคมเมือง ปึงเถ่ากง จึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมือง ขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า “แป๊ะกง” เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมืองขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า “แป๊ะกง” เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในชนบท ขณะที่ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าของคนเมืองไปโดยปริยาย
                 2. เอกสารจีนที่ลิ้มเฮียเคยอ่านนั้น ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าที่มีตัวตนจริงโดยเป็นลูกเรือคนหนึ่งของเจิ้งเหอที่ออกมาสำรวจทะเล ต่อมาลูกเรือดังกล่าวได้ตั้งรกรากที่เกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะสุมาตรา ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่เขาได้ทำประโยชน์ให้กับพื้นที่ เมื่อเขาเสียชีวิตลงจึงมีพัฒนาการเป็นเทพเจ้าประจำท้องถิ่น
              เมื่อผู้เขียนสืบค้นตามแนวทางดังกล่าวก็พบว่า ข้อมูลในลักษณะข้างต้นโดยในเอกสาร “3 เทพเจ้าจีน : รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง (THREE CHINESE DEITIES : VARIATIONS ON A THEME )” ของ คีท สตีเฟ่น(KeithSteven) กล่าวถึงปึงเถ่ากง ว่าที่ฟิลิปปินส์ ปึงเถ่ากงเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมจีนองค์หนึ่งที่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนให้ความนับถือ กล่าวกันว่าปึงเถ่ากงเป็นลูกเรือในคณะสำรวจทะเลของเจิ้งเหอซึ่งมาขึ้นฝั่งที่โจโล (เกาะเล็กๆ อยู่ระหว่างเกาะบอร์เนียวกับเกาะมินดาเนาเขาปกป้องเกาะแห่งนี้จากการรุกรานของกองทัพเรือสเปน และมีลูกหลานสืบทอดไปเป็นจำนวนมากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปึงเถ่ากง เป็นที่เคารพสักการะในฐานะของเทพเจ้าแห่งความมั่นคั่ง ด้วยชื่อเรียกที่ต่างกันไป เช่น ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เรียกว่า “ตั่วแป๊ะกง” แต่ประเทศไทยเรียกว่า “ปึงเถ่ากงนอกจากนี้ในหนังสือองค์กรอาสาสมัครของคนจีนที่พลัดถิ่น(Voluntary Organizations in the ChineseDiaspora) เรียบเรียงโดย กุนเอิงกัวเพียซ และ อีวีลีย์น ฮู-ดีฮาร์ต (Khun Eng Kuah-Pearce และ Evelyn Hu-Dehart) กล่าวถึงปึงเถ่ากงซึ่งสรุปความได้ว่าปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าที่ดิน คนกวางตุ้งเรียกท่านว่า ถู่ตี้กง แต่คนแต้จิ๋วอธิบายว่าท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งในบ้านของคนแต้จิ๋วจะตั้งหิ้งเล็กๆ เพื่อบูชาท่านปึงเถ่ากง เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีน โพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลื่อมใสมาก โดยรู้จักกันทั่วไปว่าท่านคือ เจิ้งเหอนักเดินเรือผู้มีชื่อเสียงแม้บทสรุปจะไม่ชัดเจนว่าปึงเถ่ากงเป็นใคร แต่มีความเป็นไปได้ว่าท่านมีตัวตนจริง และเป็นคนเรือที่เดินทางมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                 3. สำหรับเมืองไทย ศาลปึงเถ่ากงจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นจากการกลืนทางวัฒนธรรม เช่น ในชุมชนนั้นอาจมีบุคคลที่ทำประโยชน์แก่สังคม เมื่อเสียชีวิตก็มีการตั้งศาลให้เป็นที่ระลึก เป็นศาลปู่ย่าศาล… (ชื่อบุคคลนั้นๆพอตำนานเดิมเลือนราง ศาลจำนวนหนึ่งจึงกลายเป็นศาลปึงเถ่ากง เช่น ศาลปึงเถ่ากงม่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่ป้ายศาลเขียนกำกับภาษาไทยว่า “ศาลเจ้า ปู่-ย่า”, ศาลปึงเถ่ากงในจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เทวรูปพระวิษณุอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 แทนรูปปั้นเทพเจ้าจีน ฯลฯลิ้มเฮีย ยังช่วยอธิบายถึงหน้าที่ของปึงเถ่ากงในบทบาทของเทพเจ้าส่วนภูมิภาค” ด้วยการลำดับภาพของเทพเจ้าส่วนภูมิภาคออกเป็น 3 ระดับ ด้วยกันคือ 1. เสี่ยอึ้งกง (บ้างเรียกเซียอ๊วงกง) – เจ้าพ่อหลักเมือง เทียบได้กับผู้ว่าราชการจังหวัด 2. ปึงเถ่ากง เทียบได้กับนายอำเภอ ต่างกันที่อำเภอหนึ่งมีนายอำเภอคนเดียว แต่อำเภอหนึ่งอาจมีศาลปึงเถ่ากงมากกว่า 1 แห่ง 3. แป๊ะกง เทียบได้กับ กำนัน หรือ อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล)เมื่อปึงเถ่ากงเทียบได้กับนายอำเภอที่รับผิดชอบงานบริหารจัดการ และงานด้านความมั่นคง ลิ้มเฮียจึงชี้ให้เห็นเครื่องแต่งกายของปึงเถ่ากงที่แสดงถึงงานในหน้าที่ของท่านว่า “เครื่องแต่งกายของปึงเถ่ากงจะผสมผสานระหว่างบุ๋น-บู๊ โดยเสื้อขุนนางตัวยาวจะมีเข็มขัดคาดรัดกุมคล้ายชุดทหาร ที่เป็นจุดเด่นและแตกต่างจากชุด เทพเจ้าอื่นๆ คือแขนเสื้อ แขนเสื้อข้างซ้ายจะเป็นแบบขุนนางฝ่ายบุ๋น คือ แขนเสื้อยาวถึงข้อมือ ปลายแขนเสื้อกว้างส่วนแขนเสื้อข้างขวาจะเป็นแบบขุนนางฝ่ายบู๊ คือ แขนเสื้อยาวถึงข้อมือ ปลายแขนแคบรัดกุม (คล้ายๆ ปลายแขนของเสื้อเชิ้ตแบบแขนยาวและถือหยูอี้(คฑา)”ฟังเรื่องปึงเถ่ากงมาจนยืดยาวอดนึกถึง “ปึงเถ่าม่า” ไม่ได้ ผู้อ่านหลายท่านคงเคยเห็นศาลเจ้าบางแห่งมีทั้งปึงเถ่ากงและปึงเถ่าม่าตั้งอยู่คู่กัน แล้วปึงเถ่าม่าเป็นใคร เมื่อลิ้มเฮียเปรียบปึงเถ่ากงทำหน้าที่เป็นนายอำเภอ
                ผู้เขียนจึงคิดต่อเอาว่า ปึงเถ่าม่าก็ควรเป็นคุณนายนายอำเภอที่ดูแลงานสังคมประเภทงานกาชาดอำเภอ กิจกรรมของผู้หญิงในชุมชน ฯลฯ ได้หรือไม่ซึ่งลิ้มเฮียช่วยอธิบายว่า “นั่นก็ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะความผูกพันในครอบครัวที่มีกงม่า (ปู่ย่าตายายคู่กัน เมื่อก่อนแถวบางขุนเทียนยังมีการจัดงานแต่งงานให้ปึงเถ่ากง ปึงเถ่าม่า
 ปึงเถ่ากงขวัญของชุมชน
                ตั้ง เฮีย เล่า ว่า ในชุมชนจีน เก่า รุ่น แรกๆ อย่างสำเพ็งเยาวราช (เขตสัมพันธวงศ์มีศาลปึง เถ่ากงใหญ่น้อยกว่า 5๐ แห่ง (บางแห่งเป็นเพิงขนาดย่อม)แต่ที่จดทะเบียนกับกรมการปกครองมีเพียง 3 แห่ง
1. ศาลตั่วปุงเถ่ากง ถนนทรงวาด
 2. ศาลปุงเถ่ากง ซอยวาณิช 1
3. ศาลซิงปุงเถ่ากง ถนนมังกร
                 โดยความสัมพันธ์ของชุมชนกับศาลปึงเถ่ากงนั้น ตั้งเฮียมองว่า การสร้างศาลปึงเถ่ากงเป็นเหมือนกับการสร้างศูนย์รวมขวัญกำลังใจของชุมชน เพราะลักษณะของท่านเป็นเทพเจ้าประจำชุมชน เมื่อชาวจีนโพ้นทะเลมาอยู่เมืองไทยในระยะแรก ภาษาไทยก็ฟังไม่รู้เรื่องวิถีชิวิตความเป็นอยู่ก็แปลกแตกต่างไปจากเดิมสำหรับเมืองไทยปึงเถ่ากงน่าจะมีมาก่อน “ตีจู่เอี๊ย-เทพเจ้าของที่ดิน” (เทียบได้กับ เจ้าที่ หรือผีบ้านผีเรือน)เพราะในช่วงแรกของการตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่คนจีนจะเช่า หรือเซ้งบ้านอยู่ชั่วคราวมากกว่าซื้อขาด เพราะมีความตั้งใจเสมอว่าจะต้องกลับบ้านที่เมืองจีน จึงมีแต่ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าของชุมชน แต่เมื่อจีนประกาศเป็นคอมมิวนิสต์และปิดประเทศจึงต้องลงหลักปักฐานซื้อบ้านเป็นของตัวเอง จึงเริ่มตั้งตีจู่เอี๊ย หากหลายบ้านตั้งหิ้งบูชาปึงเถ่ากงในบ้านร่วมด้วย โดยจะแบ่งเถ้าขี้ธูปจากกระถางศาลปึงเถ่ากงในชุมชนมาตั้งเฮียยังเล่าให้ฟังถึงภาพของปึงเถ่ากงในยุคต่อมาว่า เมื่อประมาณ 30-40 ปีก่อน เยาวราชสำเพ็งเริ่มอยู่กันหนาแน่น ผู้คนนวนหนึ่งย้ายออกไปอยู่รอบนอกแถวห้วยขวางเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีชุมชนจีนเกิดขึ้นทั้งร้านค้าและบ้านเรือนอยู่เรียงติดกันในซอย วันหนึ่งเกิดไฟไหม้ขึ้น เกิดกิจกรรมของคนในชุมชน มีการเรี่ยไรเงินซื้อเครื่องดับเพลิงเล็กๆ สำหรับชุมชน มีการทำบุญเลี้ยงพระ พอทำไปสัก 2-3 ปี มีเงินเหลือก็จะจบลงด้วยการสร้างศาลปึงเถ่ากงหรือแม้แต่ในเยาราช สำเพ็งทุกซอยมีปึงเถ่ากง เมื่อมีการสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นมาชุดหนึ่งคนที่อยู่ก็ตั้งศาลปึงเถ่ากงเล็กๆ บางครั้งเมื่อซอย หรืออาคารพาณิชย์มีการขยายเพิ่มออกไปก็มีศาลปึงเถ่ากงแห่งใหม่ขึ้นด้วยซึ่งตั้งเฮียได้กล่าวทิ้งท้ายถึงปึงเถ่ากงว่าแต่วันนี้ชุมชนต่างๆ ไม่ค่อยมีการสร้างศาลปึงเถ่ากงเพิ่มอีกแล้ว คนจีนเมื่อสร้างบ้าน หรือย้ายบ้านใหม่ไม่ค่อยตั้งหิ้งปึงเถ่ากงในบ้านอีกแล้ว เราคุ้นเคยกับสภาพบ้านเมือง วัฒนธรรมและสังคมไทย ลูกหลานจีนโพ้นทะเลไม่ได้รู้สึกแปลกแยก หรือเป็นคนแปลกหน้าอีกต่อไป เพราะปึงเถ่ากงท่านได้ช่วยให้เราผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้ว

เครดิต:teochewsurat.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น